เป็นที่ทราบกันดีทั่วไปถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและเพื่อนบ้านที่กำลังจะร่วมกันเข้าเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community) นับได้ว่าภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศ
ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ หลายท่านคงได้ยินได้ฟังรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงระดับความรู้ภาษาอังกฤษของเด็กไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ยกตัวอย่างเช่น
ประเด็นปัญหาในเรื่องนี้ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากมายและหลากหลายระดับ ถึงมูลเหตุของปัญหา แนวทางและวิธีการแก้ไข การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของระเทศไทย ในส่วนมูลเหตุของปัญหานั้น ได้มีนักวิชาการและผู้รู้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย ดังพอจะสรุปได้ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีมูลเหตุอื่นๆ ที่สำคัญยิ่งคือตัวผู้เรียน ซึ่งนักเรียนนั่นเองที่ก็มีส่วนสำคัญ เพราะหากมีครูที่ดีมีคุณภาพ แต่ถ้าหากผู้เรียนไม่ให้ความสนใจ หรือขาดแรงจูงใจและความร่วมมือที่ดีต่อการเรียนการสอนเสียแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างของการเรียนการสอนก็ไม่สามารถพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้นมาได้
โครงการเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ-ภาษาอังกฤษ ของมูลนิธิกัลยาณมิตรเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาภาษาอังกฤษ โดยการจัดหาครูชาวต่างชาติที่มีความรู้และศักยภาพที่ดีในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับโรงเรียนไทย ตามหลักการและระเบียบปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ โดยมุ่งเน้นการจัดสรรครูชาวต่างชาติให้กับโรงเรียนต่างๆ ที่ตั้งอยู่ห่างไกลความเจริญและขาดแคลนครูสอนภาษาอังกฤษ
นอกเหนือไปจากการคัดเลือกครูชาวต่างชาติที่มีความรู้และคุณสมบัติที่เหมาะสมแล้ว การฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับครูชาวต่างชาติถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเข้าประจำการและทำการเรียนการสอน ณ โรงเรียนเป้าหมายต่างๆ การเตรียมความพร้อมประกอบด้วยการปฐมนิเทศและฝึกอบรมเพื่อให้ครูชาวต่างชาติเข้าใจ ในบริบทการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนไทย อาทิ หลักสูตรและตำราเรียนของแต่ละชั้น กระบวนการ แผนและเค้าโครงการสอน สภาพแวดล้อมทางสังคมของนักเรียน ครูและชุมชนท้องถิ่นของไทย กิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ รวมทั้งการเรียนรู้ภาษาไทย วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนไทย เป็นต้น
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนห่างไกลความเจริญนั้น มีความท้าทายอยู่หลายประการหลายปัจจัย นอกเหนือไปจากครูผู้สอนที่มีคุณภาพแล้ว การสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนและการปรับปรุงวิธีการสอนที่ดีที่น่าสนใจ จะเป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ครูชาวต่างชาติต้องทำงานร่วมกันกับครูไทย เพราะหากผู้เรียนหรือตัวนักเรียนเองไม่สามารถเข้าใจและตระหนักรู้ได้ว่า จะเรียนภาษาอังกฤษไปทำไม ความทุ่มเทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครูชาวต่างชาติหรือวิธีการสอนที่ดีเพียงใด ก็ไม่เกิดและสร้างประโยชน์แก่ตัวนักเรียนได้ นี่จึงเป็นความท้าทายของโครงการนี้ ในการสร้างครูชาวต่างชาติให้มีศักยภาพมากกว่าความเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้แล้ว การติดตามประเมินผลการเรียนการสอน ณ โรงเรียนเป้าหมาย รวมถึงการสังเกตการณ์ในชั้นเรียนจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำให้ครูชาวต่างชาติได้มั่นใจในแนวทางการพัฒนาการสอนที่ดีอยู่เป็นระยะๆ ในส่วนของการดำรงชีวิตของครูชาวต่างชาติในสังคมชุมชนท้องถิ่น มูลนิธิฯ มีแนวคิดและกิจกรรมการสร้างความเป็นมิตรและสัมพันธภาพระหว่างครูชาวต่างชาติ โรงเรียนและชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อให้ครูชาวต่างชาติเกิดความรู้สึกเป็นสมาชิกเดียวกันกับชุมชนและดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข ตลอดจนได้เรียนรู้วิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมไทย....